Go to content

พลังงานในขนมหวานไทย

ขนมหวานแบบไทย ที่ใช้ในงานมงคลต่างๆเป็นที่ถูกปากถูกใจใครหลายคน แต่ความหวานและพลังงานไม่เหมาะกับคนที่กำลังลดน้ำหนักอยู่ จึงควรรู้และศึกษาปริมาณพลังงานให้ดี

ขนมหวานไทยชื่อดีเป็นมงคลเหล่านี้มักใช้กันในงานบุญต่างๆ เช่นงานขึ้นบ้านใหม่ งานแต่งงาน และงานบวงสรวงต่างๆ เนื่องจากมีชื่อที่เป็นมงคล มีความหมายและสืบทอดหลักการเหล่านี้ต่อๆกันมา ปัจจุบันขนมหวานไทยที่มีขายเหล่านี้หาซื้อได้ง่าย หลายคนคงเข็ดขยาดกับความหวานบ้าง แต่สำหรับคนที่ชอบก็ควรที่จะต้องเรียนรู้ปริมาณพลังงานและสารอาหารของขนมหวานแต่ละชนิด เพื่อนำไปปรับใช้และวางแผนการรับประทาน ไม่ให้รับประทานมากจนเกินไป และควรทานเป็นครั้งคราว เพื่อบริหารจัดการการควบคุมพลังงานที่ได้รับให้เหมาะกับการใช้งงานได้

ตารางโภชนการนี้ เปรียบเทียบจากปริมาณขนม 100 กรัม

ฝอยทอง
พลังงาน 433 kcal
น้ำ 21.1 กรัม
โปรตีน 12.8 กรัม
ไขมัน 24.3 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 40.8 กรัม

 

ขนมเม็ดขนุน
พลังงาน 341 kcal
น้ำ 26.6 กรัม
โปรตีน 10.8 กรัม
ไขมัน 10.5 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 50.8 กรัม

 

ขนมทองหยอด
พลังงาน 299 kcal
น้ำ 32.6 กรัม
โปรตีน 3.6 กรัม
ไขมัน 6.1 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 57.3 กรัม

 

ขนมชั้น
พลังงาน 247 kcal
น้ำ 43.9 กรัม
โปรตีน 0.9 กรัม
ไขมัน 4.9 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 50.1 กรัม

 

ข้าวเหนียวขาว หน้าสังขยา
พลังงาน 249 kcal
น้ำ 47.4 กรัม
โปรตีน 4.5 กรัม
ไขมัน 8.4 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 38.6 กรัม

 

ขนมหม้อแกงไข่
พลังงาน 244 kcal
น้ำ 50.2 กรัม
โปรตีน 7.6 กรัม
ไขมัน 9.5 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 32 กรัม


Credit: กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรงสาธารณะสุข

Latest