Go to content

ออกกำลังกายแล้วปวด เข้าใจอาการปวด แล้วบรรเทาให้ถูกวิธี

อาการ ตึง ปวด เมื่อยล้า จากการออกกำลังกาย ถือเป็นเรื่องปกติที่คนที่ออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาต้องเจอ อาการปวดนี้สามารถบรรเทาได้ด้วยการอบอุ่นร่างกายให้พร้อม พักผ่อนอย่างเพียงพอ หรือนวดผ่อนคลายเพื่อลดอาการ

เชื่อว่าคนที่ออกกำลังกาย และเล่นกีฬา ทุกคนต้องเคยเจอ หรือ เคยชินกับอาการปวด-เมื่อย จากการออกกำลังกายแทบทั้งสิ้น จนมีคำคมคุ้นหูที่ว่า no pain no gain “ไม่เจ็บปวด ไม่พัฒนา” อาการปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆ ทั้งระหว่าง และ หลังการออกกำลังกายนั้น ถือว่าเป็นเรื่องปกติตามกลไกที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย อันสืบเนื่องมาจากการใช้งานกล้ามเนื้อนั้นเอง

อาการปวดจากการออกกำลังกายเกิดจากอะไร

อาการปวดโดยทั่วไป จะถูกควบคุมโดยระบบประสาท และเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน เกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งเร้าจากภายนอก กระตุ้นไปยังเซลล์ประสาทรับความรู้สึกให้ส่งสัญญาณไปยังสมอง โดยผ่านทางไขสันหลัง ที่เป็นตัวรับความรู้สึก ตอบสนองต่อความร้อน ความเย็น แสง สัมผัส การกด และความเจ็บปวด อาการปวดสามารถทำให้เกิดอาการทางกายภาพอื่นๆ ได้ เช่น อาการคลื่นไส้ วิงเวียน และกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้

อาการปวดเมื่อย ตึง ล้า หลังการออกกำลังกาย

อาการปวดตึงกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกาย จะเกิดขึ้นในระหว่างที่ร่างกายซ่อมแซมกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ที่สึกหรอจากการออกกำลังกาย หรือ อาการ Delayed Onset Muscle Soreness (DOMS) อาการนี้เป็นอาการที่นักกีฬา และ ผู้ออกกำลังกายทุกคนต้องเจอ และมักเกิดขึ้นเมื่อมีการปรับโปรแกรมการฝึก และการออกกำลังกาย หรือ การใช้กล้ามเนื้อในระดับที่มากกว่าปกติ 

Delayed Onset Muscle Soreness (DOMS) เกิดขึ้นได้อย่างไร 

อาหารปวดเมื่อยตามหลังการออกกำลังกาย จะเริ่มขึ้นตั้งแต่ 12-48 ชม.หลังการออกกำลังกาย  และจะค่อยๆ ดีขึ้นภายใน 3-4 วัน อาการดังกล่าวเกิดจากการซ่อมเเซมเส้นใยกล้ามเนื้อที่เกิดการฉีกขาดในระดับไมโครเซลล์ เมื่อกล้ามเนื้อได้รับความเสียหาย ร่างกายจะเพิ่มการไหลเวียนเลือด เพื่อช่วยกระตุ้นการทำงานของเอ็นไซม์ในบริเวณนั้น ทำให้เกิดการอักเสบ ตึง และปวดขึ้นเล็กน้อย กระบวนการเหล่านี้นี่เองที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวด

วิธีทุเลาอาการปวดจากการออกกำลังกาย 

สำหรับอาการปวดที่เกิดขึ้นจากการออกกำลังกายสามารถบรรเทา และลดความรุนแรงของอาการปวดได้ด้วย การอบอุ่นร่างกายก่อนออกกำลังกาย และ ยืดเหยียดกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกาย กิจกรรมนี้มีส่วนช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี ช่วยลดอาการปวดตึงกล้ามเนื้อได้ นอกจากนี้การหมั่นฝึกฝนการออกกำลังกายเป็นประจำ ทำให้ร่างกาย และกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ แข็งแรงขึ้น เมื่อร่างกายแข็งแรงขึ้น อาการปวดเมื่อยก็จะน้อยลง 

สำหรับอาการปวดตามหลังออกกำลังกาย (DOMS) อาการปวดนี้สามารถบรรเทาได้ด้วยการพักผ่อนอย่างเพียงพอ เมื่อใช้ร่างกาย หรือกล้ามเนื้อหนักๆ ก็จำเป็นที่จะต้องจัดตารางการพักให้กับร่างกาย และกล้ามเนื้อ โดยกล้ามเนื้อในแต่ละส่วน ควรได้พักอย่างน้อย 48 ชั่วโมง ก่อนการฝึกครั้งต่อไป หรือ ผ่อนการฝึกให้เบาลง เปลี่ยนมาเป็นการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ หรือ ทำกิจกรรมการออกกำลังกายเบาๆ แทน

ถ้าหากพักแล้วอาการปวดไม่ทุเลาลงอาจใช้การนวดเพื่อผ่อนคลาย ร่วมกับการใช้ยานวดบรรเทาอาการปวด ที่มีตัวยาไดโคลฟีแนก ที่จะช่วยบรรเทาอาการปวด และลดอาการอักเสบ ซึ่งจะแตกต่างจากเจลเย็น และแผ่นประคบร้อน ที่ทำงานโดยใช้ความเย็น หรือความร้อนบนผิวเท่านั้น 

ยาทาบรรเทาปวด ไดโคลฟีแนก

ยานวดบรรเทาปวดนี้ใช้ในการรักษาอาการปวด และอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ ข้อ เอ็นกล้ามเนื้อ และเอ็นยึดข้อ เนื่องจากการแพลง และการเคล็ด (ฉีก / ยืด) การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ออกกำลังกาย (เช่น tennis elbow อาการปวดศอกด้านนอก) และโรคเนื้อเยื่ออ่อนและรูมาติกเฉพาะที่ (เช่น bursitis โรคถุงน้ำกันการเสียดสีอักเสบ หรือ tendinitis โรคเอ็นอักเสบ)

ยานวดที่มีส่วนผสมของ ไดโคลฟีแนก ที่เป็นแบบอีมัลชั่นเจล จะช่วยให้ สารไดโคลฟีแนก ออกฤทธิ์ ซึมซาบเข้าสู่ผิวอย่างรวดเร็ว ช่วยการออกฤทธิ์ในสามขั้นตอน คือทั้งบรรเทาอาการปวด ลดอาการอักเสบ และช่วยเร่งการฟื้นตัวได้ 

วิธีการใช้ยาบรรเทาปวด

สำหรับการใช้ยานวดบรรเทาปวด ให้ทาเจลลงบนบริเวณที่ปวด ถูนวดเบาๆ 3-4 ครั้งต่อวัน และสามารถใช้ได้ ต่อเนื่องถึง 14-21 วัน ขึ้นอยู่กับผลของการรักษา หากอาการปวดไม่ดีขึ้นหลังจากหลายวันผ่านไปควรปรึกษาแพทย์ 

ข้อควรระวังในการใช้ยานวดบรรเทาปวด

ควรอ่านเอกสารกำกับยาก่อนใช้ยาเสมอ เพื่อตรวจสอบว่าผลิตภัณฑ์นี้เหมาะสำหรับเราหรือไม่ เพราะนี่เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ถ้าคุณกำลังมีอาการของโรคอื่นๆ หรือหากคุณกำลังใช้ยาตัวอื่น

ผลข้างเคียงจากการใช้ยา หากมีอาการระคายเคือง หรือแดง หากอาการข้างเคียงนั้นแย่ลง ควรหยุดใช้ยาและปรึกษาแพทย์ 

References

เรียบเรียง : lovefitt.com

  • nhs.uk
  • webmd.com

Latest