Go to content

เกรลิน ฮอร์โมน ต้นตอควบคุมความหิว

ต้นเหตุของความหิว ที่เป็นอุปสรรคของการลดน้ำหนัก แท้จริงมาจาก เกรลิน ฮอร์โมน ที่เกิดขึ้นในร่างกายเราเอง วิธีการควบคุมทำได้อย่างไร

Ghrelin-hormone

หลายครั้งที่ความหิวทำให้รำคาญใจ ตั้งใจจะลดน้ำหนักเท่าไหร่ แต่ความหิวก็มาเป็นเป็นอุปสรรค์เสมอ ซึ่งความจริงแล้วเจ้าความหิวมีที่มา เป็นกระบวนการหลั่งฮอร์โมนที่เกิดขึ้นในร่างกายของเราเราเอง เจ้าฮอร์โมนความหิวหรือชื่อหนึ่งที่เรียกเป็นทางการว่า “เกรกรลิน” (Ghrelin hormone)

กระบวนการเกิด เกรลิน

โดยปรกติเจ้า เกรลิน ถูกหลั่งออกมาจากเซลล์กระเพาะอาหาร เพื่อส่งสัญญาณบอกสมองว่าให้สั่งสองมือไปหาอาหารมาเข้าปาก และช่วงเวลาก่อนมื้ออาหาร จะเป็นช่วงที่ระดับของเกรลินขึ้นสูง  เมื่อเรารับประทานอาหารเข้าไป ระดับของเกรลินก็จะลดลงอาจใช้เวลาในการลดระดับลง ประมาณ 3 ชั่วโมงโดยเฉลี่ย ดั้งนั้นวิธีการที่จะจัดการกับความหิวที่ได้ผลที่ต้นตอก็คือ พยายามควบคุมเจ้าเกรลินให้ไม่สูงเกินไป และไม่ถูกหลั่งออกมาเร็วเกินไป ซึ่งทำได้ง่ายๆได้ดังต่อไปนี้

ควบคุมได้อย่างไร

  • เพิ่มโปรตีนดีในมื้ออาหาร พบว่าการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนดีสูง เช่น ไข่ขาว ปลา ถั่ว จะช่วยยับยั้งการหลั่งของเกรลิน ได้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทานในมื้อเช้า
  • หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง เพราะว่ามื้ออาหารที่มีไขมันสูง จะส่งผลยับยั้งฮอร์โมนหิวหรือเกรลินได้ไม่ดีเท่าอาหารไขมันต่ำ นั่นหมายความว่า ยิ่งรับประทานอาหารมันๆเท่าไหร่ ก็จะยิ่งหิวง่ายขึ้นเท่านั้น
  • อย่านอนดึก การนอนหลับไม่เพียงพอส่งผลกระตุ้นการผลิตของเกรลิน ลองสังเกตดูว่าในวันที่คุณนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ นอกจากจะง่วงเพลียแล้ว ยังมักจะหิวและกินเก่งขึ้นด้วย
  • รับประทานมื้อเล็ก แต่บ่อยขึ้น การแบ่งอาหารเป็นมื้อที่เล็กลง แต่บ่อยขึ้นเป็นทุก 3-4 ชั่วโมง จะช่วยกระตุ้นเปปไทด์ YY3-36 ซึ่งจะไปยับยั้งการหลั่งของเกรลินอีกต่อหนึ่ง แถมการทานมื้อเล็กๆก็จะช่วยเพิ่มให้ร่างกายได้เผาผลาญพลังงานอย่างต่อเนื่องอีกด้วย
  • หาทางจัดการกับความเครียด เช่น ออกกำลังกาย นวด นั่งสมาธิ ฟังเพลง ในเวลาที่เรามีความเครียดหรือวิตกกังวล เกรลินจะถูกผลิตเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เราหิวง่ายขึ้นในยามเครียดนั่นเอง

เพียงปฏิบัติให้ได้ตามห้าข้อนี้ คุณก็จะจัดการฮอร์โมนหิวได้อยู่หมัดค่ะ…รับรอง

 

Credit: สสส.

Latest