Go to content

ยาถ่าย, ยาระบาย อันตรายใกล้ตัว

เรื่องอาการท้องผูกกับคนลดน้ำหนักเป็นของคู่กัน เพราะปริมาณอาหารที่เราทานเข้าไปมีกากใยน้อยเกินกว่าที่จะขับถ่ายออกมา และหลายต่อหลายคนคงต้องพึ่งยาถ่ายหรือยาระบายเพื่อคลายความอึดอัด แต่ทะว่านาถ่ายก็มีอันตรายฝแฝงอยู่เช่นกัน ถ้าหากใช้มากเกินความจำเป็น

WC

เรื่องอาการถ่ายไม่ออกนั้น หลายคนฟังอาจคิดว่าเป็นเรื่องตลก แต่แท้ที่จริงแล้วมันแฝงด้วยอันตรายหลายๆ อย่าง โดยเฉพาะคนที่แก้ปัญหาด้วยการใช้ยาถ่ายเพื่อระบายออก บางคนหวังว่าถ่ายบ่อยๆ จะได้น้ำหนักลด แต่ความคิดแบบนั้นกำลังสร้างมหันตภัยโดยไม่รู้ตัว

หลายคนเถียงว่ายาถ่ายที่กินอยู่นั้นเป็นยาสมุนไพรปลอดภัย ไร้กังวล ถ้าเช่นนั้นเรามารู้จักชนิดของยาถ่ายกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง ยาถ่ายที่แพร่หลายอยู่ในปัจจุบันแบ่งได้อยู่ 4 กลุ่มใหญ่ ๆ

กลุ่มที่ 1 : ยาที่กระตุ้นลำไส้ใหญ่ให้บีบตัว

เป็นยาที่กระตุ้นลำไส้ใหญ่ให้บีบตัว จำพวกน้ำมันละหุ่ง เซนนา (สารจากใบและฝักมะขามแขก) ไบซาโคดิล สลอด ฯลฯ ยาพวกนี้จะเข้าไปกระตุ้นการทำงานของลำไส้ใหญ่ให้เกิดการบีบตัวมากขึ้นกว่า ปกติ เพราะเมื่อลำไส้ใหญ่บีบตัวกระบวนการขับของเสียก็มีโอกาสเกิดขึ้นมาก แต่สิ่งที่จะทำมาภายหลังก็คือ ลำไส้ใหญ่จะเกิดการหย่อนยาน และไม่สามารถบีบตัวเองได้ และเมื่อไรที่หยุดกินยาก็ทำให้ไม่สามารถถ่ายเองได้ บางคนกินยาถ่ายเข้าไปเป็นสิบ ๆ เม็ดยังไม่ยอมถ่าย และทำให้ร่างกายเกิดการสะสมพิษอย่างต่อเนื่อง สุดท้ายก็ทำให้หงุดหงิด ตัวบวม มีกลิ่นตัว ปากเหม็น ผิวพรรณไม่ผ่องใส และอาจมีปัญหาตามมาอีกมากมาย

กลุ่มที่ 2 : ยาที่เพิ่มปริมาณน้ำในลำไส้

เป็นยาที่เพิ่มปริมาณน้ำในลำไส้ เช่น กลุ่มเกลือแมกนีเซียม โดยจะเข้าไปช่วยเพิ่มปริมาณน้ำในลำไส้และจะช่วยให้ระบบขับถ่ายระบายได้ดี ขึ้น ยาประเภทนี้หากกินมากเกินไปอาจทำให้เกิดการถ่ายท้องที่รุนแรงและเป็นอันตราย ได้ และข้อสำคัญคือยากลุ่มนี้จะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายและทำให้เกิดพิษต่อหัวใจ และไต ดังนั้นจึงมีข้อห้ามใช้ในคนที่เป็นโรคไตและโรคหัวใจ รวมถึงเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปีด้วย

กลุ่มที่ 3 : ยาที่หล่อลื่นลำไส้

เป็นยาที่หล่อลื่นลำไส้ เช่น อีแอลพี โดยยาชนิดนี้จะเป็นยาน้ำที่ได้จากน้ำมันปิโตรเลียม ไม่ถูกย่อย ไม่ดูดซึม และจะช่วยหล่อลื่นให้ลำไส้เพื่อให้อุจจาระผ่านได้สะดวก และยังทำให้อุจจาระนุ่มขึ้นด้วย แต่ก็มีข้อควรระวังคือยาชนิดนี้จะทำให้ร่างกายไม่ดูดซึมวิตามินเอ ดี อี เค และระหว่างที่ใช้ต้องระวังอย่าให้สำลักเพราะอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคปอด อักเสบตามมาได้

กลุ่มที่ 4 : สารเพิ่มกากใย

ก็คือสารเพิ่มกากใย โดยจะช่วยเพิ่มกากใยให้กับอุจจาระและทำให้อุจจาระนุ่ม ถ่ายง่าย ช่วยป้องกันอาการท้องผูก ริดสีดวงทวาร แผลปริที่ทวารหนัก และบรรเทา อาการของพวกที่ลำไส้ไวต่อสิ่งเร้าอีกด้วย วิธีนี้น่าจะเป็นวิธีที่ดูปลอดภัยและใช้ประโยชน์จากธรรมชาติได้มากที่สุด เพราะสารที่มีกากใยนั้นอยู่ในธรรมชาติ เช่น รำข้าว ผัก ผลไม้ ข้าวกล้อง เป็นต้น

และนี่คือประเภทใหญ่ๆ ของยาถ่ายกลุ่มต่างๆ จะเห็นได้ว่าแม้ว่าผลลัพธ์ของยาถ่ายแต่ละประเภทจะมีจุดหมายเดียวกันก็คือ ช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น แต่ผลข้างเคียงของแต่ละชนิดก็แตกต่างกันไป การที่จะทำให้ร่างกายสามารถกลับมาขับถ่ายได้เองนั้น ยาถ่ายคงช่วยได้เพียงแค่ครั้งคราวเท่านั้น ดังนั้นแล้วการหันหาธรรมชาติเพิ่มกากใยให้กับร่างกายตนเองด้วยการกินผักสด ผลไม้สด และหันมากินข้าวกล้อง ก็จะช่วยเพิ่มกากใยให้กับร่างกายได้เป็นอย่างดี ดื่มน้ำมากๆ และเมื่อทำจนเคยชินเป็นกิจวัตรประจำวัน สุขภาพที่ดีก็จะค่อย ๆ ย้อนกลับมาหาคุณ

 

Credit:Kapook.com

Latest