Go to content

อนุมูลอิสระ ต้านไม่ยาก แค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

อนุมูลอิสระตัวการความเสื่อมถอยของร่างกาย เราสามารถเพิ่มการสร้างสารต้านอนุมูลอิสระได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หันมา กินดี ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนเพียงพอ และไม่เครียด

สารต้านอนุมูลอิสระ เป็นสารที่มีส่วนช่วยป้องกัน หรือช่วยลดความเสียหายของเซลล์ จากการเกิดอนุมูลอิสระ โมเลกุลที่ไม่เสถียร ที่ร่างกายผลิตขึ้น จากปฏิกิริยาต่อสิ่งแวดล้อม และแรงกดดันอื่นๆ ทั้งจากภายนอก และภายในร่างกาย

การใช้ชีวิตสุดโต่ง การกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ พักผ่อนไม่เพียงพอ มีความเครียดสูง ล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อการเกิดอนุมูลอิสระในร่างกายได้ทั้งสิ้น ซึ่งจำนวนอนุมูลอิสระในร่างกายที่มากเกินไป ส่งผลต่อสุขภาพ ทำให้เกิดความเสื่อมถอยของเซลล์ ความแก่ชรา และความเสี่ยงในการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) อย่าง มะเร็ง เบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ และสมอง

ร่างกายสามารถสร้างสารต้านอนุมูลอิสระได้เองตามธรรมชาติ และเสริมด้วยการกินอาหารที่ดีมีประโยชน์

ผักและ ผลไม้ เป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ทั้ง วิตามิน A, C, E , เบต้า-แครอทีน, ไลโคปีน, ลูทีน , ซีลีเนียม, แมงกนิส และ ซีแซนทีน เป็นต้น

นอกจากนี้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการมใช้ชีวิต กินดี ออกกำลังกาย พักผ่อนอย่างมีคุณภาพ และทำจิตใจให้สดใส มีส่วนช่วยลดการเกิดอนุมูลอิสระในร่างกายได้

อนุมูลอิสระ ตัวการความเสื่อมของร่างกาย

อนุมูลอิสระ (Free Radicals) เป็นโมเลกุลที่ไม่เสถียร ที่ร่างกายสร้างขึ้น จากปฏิกิริยาต่อสิ่งแวดล้อม และแรงกดดัน ทั้งจากภายใน และภายนอกร่างกาย ทำให้ร่างกายขาดความสมดุล ซึ่งส่งผลทำให้เซลล์ร่างกายเสียหายได้

โดยปกติร่างกายจะมีกระบวนการ การจัดการอนุมูลอิสระตามธรรมชาติ โดยการใช้เอนไซม์ที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อจับกับอนุมูลอิสระ เช่นเอ็นไซม์ superoxide dismutase (SOD) และเอ็นไซม์ catalase glutathione peroxidaes เป็นต้น

แต่สารต้านอนุมูลอิสระที่ร่างกานสร้างขึ้นเองนั้น อาจมีปริมาณไม่เพียงพอ ด้วยตัวแปรที่เกิดจากการใช้ชีวิต สภาพแวดล้อม และอายุที่มากขึ้น ทำให้กระบวนการต้านการเกิดอนุมูลอิสระลดลงได้

อนุมูลอิสระมาจากไหน?

ตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดอนุมูลอิสระ มาจากทั้งปัจจัยภายนอก และภายในร่างกาย

ปัจจัยภายนอกร่างกาย เช่น สภาพแวดล้อม มลพิษ ฝุ่น ควัน อาหารที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง หวาน มัน เค็มมากเกินไป แสงแดด ความร้อน และรังสีต่างๆ

ปัจจัยภายในร่างกายกาย เช่น การสร้างอนุมูลสระตามธรรมชาติ เช่น อนุมูลซุปเปอร์ออกไซด์, อนุมูลไฮดรอกซิล เป็นต้น

เมื่อร่างกายผลิตหรือได้รับ “สารต้านอนุมูลอิสระ” ไม่เพียงพอ สารอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นเหล่านี้ จะเข้าไปทำลายเซลล์ ทำให้เซลล์เกิดความเสียหาย และนำไปสู่การเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคกลุ่ม NCDs (โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง) เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด แก่ก่อนวัย ภูมิคุ้มกันลดลง

เติมสารต้านอนุมูลอิสระ ด้วยการปรับพฤติกรรม

เมื่อเรารู้แล้วว่า สภาพแวดล้อม และการใช้ชีวิต เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการสร้างอนุมูลอิสระภายในร่างกาย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต จึงเป็นวิธีการหนึ่ง ที่จะช่วยสร้างสารต้านการเกิดอนุมูลอิสระได้

หันมาดูแล และใส่ใจสุขภาพ กินอาหารที่ดี มีประโยชน์ในปริมาณที่พอเหมาะ ลด ละ เลิก การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ และการสูบบุหรี่ แล้วออกกำลังกายเป็นประจำ สม่ำเสมอ แต่ไม่หักโหม และนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ มีคุณภาพ และลดความเครียด

ต้านอนุมูลอิสระ ด้วยผัก-ผลไม้หลากสี

ร่างกายได้รับสารต้านอนุมูลอิสระส่วนหนึ่งจากอาหารที่กินเข้าไป ซึ่งผักและผลไม้หลากสี เป็นอาหารที่อุดมไปด้วย พฤกษเคมี (Phytochemicals) มีฤทธิ์ทางชีวภาพ ทำให้พืชผักและผลไม้ มีสี กลิ่น และรสชาติเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งพฤกษเคมี นี่เอง ที่เป็นสารต้านการเกิดอนุมูลอิสระชั้นดี ที่ช่วยให้ระบบต่างๆของร่างกายทำงานได้อย่างสมดุล

🍓 ผลไม้สีแดง / ชมพูอมม่วง มีสารไลโคปีน (Lycopene) และบีทาเลน(Betalain)

🥦 ผลไม้สีเขียว นอกจากมีสารคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) แล้ว ยังมีสารลูทีน (Lutin)

🍆 ผลไม้สีน้ำเงิน / ม่วง มีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) และกลุ่มโพลิพีนอล (Polyphenol)

🧄 ผลไม้สีขาว / สีน้ำตาล มีสารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid)

🥕 ผลไม้สีเหลือง / สีส้ม มีสารเบต้าแคโรทีน (Beta-carotene)

สนับสนุนบทความโดย

S.O.D MORE ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต้านอนุมูลอิสระ คัดเลือกคุณค่าของไฟโตนิวเทรียนท์จากผักและผลไม้ 125 ชนิด

ผ่านกระบวนการผลิตเป็นเวลา 180 วัน ทำให้ได้ SOD ENZYME (Superoxide dismutase) มีส่วนช่วยในการต้านอนุมูลอิสระเชิงรุก (Proactive antioxidant) เพื่อดูแลสุขภาพองค์รวมอย่างต่อเนื่อง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม และสั่งซื้อสินค้าได้ที่ OA: https://lin.ee/ooGzfNs

Latest