Go to content

เมื่อเจออาการปวดตึงกล้ามเนื้อ ทำยังไงดี

มาเรียนรู้และเข้าใจอาการปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก ตามร่างกาย และบรรเทาความปวดให้ถูกวิธี

อาการปวด เมื่อย เคล็ด ขัดยอก ตามร่างกาย เป็นเรื่องปกติที่ทุกคนพบเจอได้ ทั้งคนทั่วไป ผู้สูงอายุ ยิ่งเป็นสายแข็ง สายขยัน ออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมใช้แรงเป็นประจำ ใช้งานร่างกายหนัก หรือ อาจประสบอุบัติเหตุ เกิดการบาดเจ็บ ทำให้มีอาการปวดทั้งแบบเฉียบพลัน หรืออาการปวดแบบเรื้อรังได้

หากเกิดอาการปวด ภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมง สามารถบรรเทาอาการปวดได้โดยการประคบเย็น และเจลหลอดสีเขียวหรือสเปรย์เย็นกระป๋องสีเขียว และหลังจาก 72 ชั่วโมงให้ใช้การประคบร้อน และงดใช้กล้ามเนื้อบริเวณนั้น หากมีอาการปวดให้นวดบรรเทาด้วยครีมทาบรรเทาปวด หลอดสีเขียวสูตรร้อน หรือ กินยาช่วยลดปวดก็ได้

ซึ่งโดยมากอาการ ตึง ปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก จากกการออกกำลังกาย การทำงาน หรืออาการปวดเมื่อยในผู้สูงอายุ สามารถทุเลา และหายได้เอง แต่ถ้ามีอาการปวด บวม แดงมาก มีอาการปวดรุนแรงไม่ทุเลาลง ควรรีบปรึกษาแพทย์

นิยามของความปวด

ว่าด้วยเรื่องของความปวด

ความปวด ในนิยามของ (International Association of the Study of Pain) คือประสบการณ์ ความรู้สึก หรืออารมณ์ ที่ไม่สุขสบาย ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเยื่อร่างกายถูกทำลาย หรืออาจจะมีการทำลายเนื้อเยื่อเกิดขึ้นก็ได้

ความปวดเกิดจากกลไกหลายอย่างที่ซับซ้อนและต่อเนื่อง สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในระบบประสาท ส่วนกลางและส่วนปลาย แถมยังมีปัจจัยอื่นๆ มาเกี่ยวข้อด้วย เช่น สภาพจิตใจ อารมณ์ ประสบการณ์การได้รับความเจ็บปวด ซึ่งทำให้แต่ละคนตอบสนอง หรือรับรู้ความเจ็บปวดแตกต่างกัน

การเดินทางของความเจ็บปวด

การส่งสัญญาณเพื่อให้ร่างกายรับรู้ถึงความเจ็บปวดนั้น สามารถแยกเป็นกลไกการเกิดความปวดได้ดังนี้

เมื่อเนื้อเยื่อถูกทำลายหรือมีการบาดเจ็บ ร่างกายจะหลั่งสารเคมีต่าง ๆ มากมาย เพื่อไปกระตุ้นตัวรับความรู้สึกที่ปลายประสาท และส่งสัญญาณความปวดไปที่ไขสันหลัง และสมอง

การนำส่งสัญญาณความปวดไปยังไขสันหลัง (central sensitization) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคือ ความรุนแรง และระยะเวลาในการปวดจะเพิ่มขึ้น และบริเวณที่ปวดจะขยายวงกว้างขึ้น

การรับรู้ของสมอง ทำให้เกิดความรู้สึกปวด และยังสั่งการไปยังร่างกายให้ลดการเคลื่อนไหวในบริเวณที่รู้สึกปวด

อาหารปวดจากการออกกำกังกาย

ปวดกล้ามเนื้อจากการออกกำลังกาย

เป็นอาการปวดกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นจาการใช้งาน หรือเกิดการบาดเจ็บในขณะออกกำลังกาย ซึ่งสาเหตุของการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อนั้นอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยสามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

  • การบาดเจ็บโดยตรง เช่น การกระแทก การยืดหดของกล้ามเนื้อมากเกินไป ทำให้เกิดการช้ำ หรือฉีกขาด
  • การบาดเจ็บทางอ้อม คือปริมาณเลือดไม่มาเลี้ยง หรือไม่เพียงพอต่อความต้องการ ส่งผลให้เกิดอาการบาดเจ็บขึ้นภายในกล้ามเนื้อ

ซึ่งอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อที่เป็นได้บ่อยที่สุดคือ อาการปวดตรงบริเวณกล้ามเนื้อ และปวดมากขึ้นเมื่อใช้งานกล้ามเนื้อมัดนั้นๆ และปวดมากขึ้นไปอีกเมื่อมีการยืดกล้ามเนื้อมากเกินไป

ปวดตึงกล้ามเนื้อทำยังไงดี

การบรรเทาอาการปวด เมื่อย ตึงกล้ามเนื้อในการณีที่การปวดไม่รุนแรงมาก สามารถบรรเทาได้ด้วยการใช้ยาทาภายนอก และการประคบ โดยประคบเย็น หรือ ทายาบรรเทาปวดที่มีความเย็น 1-3 วันแรก หลังเกิดการบาดเจ็บ หลังจากนั้น ให้ใช้ยาทาที่บรรเทาอาการปวดชนิดร้อน หรือประคบร้อน เพื่อบรรเทาอาการปวด จากการอักเสบของกล้ามเนื้อ

การบรรเทาปวดด้วยการกินยา เช่น ยาแก้ปวดทั่วไป (พาราเซตามอล) หรือยาคลายกล้ามเนื้อ ก็สามารถทำได้ ทั้งนี้การใช้ยาทั้งสองชนิด ควรได้รับคำแนะนำจาก เภสัชกร และแพทย์

ปวด ตึง กล้ามเนื้อ กันไว้ดีกว่าแก้

การป้องการเกิด ย่อมดีกว่ามาแก้เอาทีหลัง อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ก็เช่นกัน สำหรับผู้ออกกำลังกาย หรือ เล่นกีฬา ควรอบอุ่นร่างกาย ยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อน และหลังการออกกำลังกายเสมอ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นให้กล้ามเนื้อ ช่วยลดปัญหากล้ามเนื้อยืด-หดตัวมากเกินไป และยังช่วยในการขยายตัวของหลอดเลือด เพิ่มปริมาณเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อได้อีกด้วย

สำหรับคนทำงาน ใช้ท่าทำงานเดิม ซ้ำๆ นานๆ ปัญหาปวดเมื่อยจากออฟฟิศซินโดรม ให้หยุดพัการทำงาน หรือเปลี่ยนท่าทางการทำงาน ลุก เดิน เป็นระยะ อย่างน้อยทุกๆ 1-2 ชม.

สำหรับผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเมื่อย ให้หมั่นยืดเหยียด แขนขา ลุกเดิน เปลี่ยนท่าทางการนั่งบ่อยๆ ตามกำลัง

นอกจากนี้การพักผ่อนให้เพียงพอ การกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดื่มน้ำสม่ำเสมอ วางแผนการทำกิจกรรม และการออกกำลังกายอย่างพอดี ไม่หักโหมเกินกำลัง ก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้

ปวดเมื่อย ไม่ทุเลา บรรเทาด้วย หลอดสีเขียวสูตรร้อน

ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เคล็ดขัดยอก ช้ำ จากการออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬา ปวดเมื่อยจากการทำงาน ไม่ว่าจะเป็น ปวดคอ บ่า ไหล่ ปวดหลัง ปวดตามข้อต่อหรือผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเมื่อย นวดบรรเทาปวดได้ด้วย หลอดสีเขียวสูตรร้อน เนื้อครีม ซึมซาบเร็ว ล้างออกง่าย ไม่เป็นคราบ ไม่เหนอะหนะ ร้อนดีไม่มีแสบผิว แถมยังมีกลิ่นหอมสดชื่นช่วยให้ผ่อนคลาย

แต่หากเจ็บปวดเฉียบพลัน จากกิจกกรรม หรือการเล่นกีฬา อย่าลืมปฐมพยาบาลด้วยสเปรย์กระป๋องสีเขียวสูตรเย็น ตามด้วยเจลหลอดสีเขียวสูตรเย็นในเบื้องต้น

ปวดจากสาเหตุไหน บรรเทาปวดด้วยเจลหลอดสีเขียวสูตรร้อน หาซื้อได้แล้วที่ร้านค้า และร้านขายยาชั้นนำทั่วไป

References

เรียบเรียง : lovefitt.com

  • ปวดกล้ามเนื้อ (https://bit.ly/3mcF8nW)
  • Pain เอกสารประกอบการสอน pain(https://bit.ly/3pZOAh8)
  • ออกกำลังกายแล้วปวดกล้ามเนื้อ จะทำอย่างไรดี (https://bit.ly/3fzKG9J)
  • เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการพยาบาลพื้นฐาน Pain Management, Skin Integrity and Wound Care (https://bit.ly/2USnEkS)

Latest