Go to content

ความเครียดส่งผลต่อความอ้วนได้ยังไง

ปัจจุบันมางานวิจัยมากมาย บ่งชื้เรื่องความเครียดที่ส่งผลต่อน้ำหนักตัวของเรา ไม่ว่าจะเครียดสั้น เครียดเฉียบพลัน เครียดยาว หรือ เครียดเรื้อรัง ก็ล้วนแล้วแต่สามารถทำให้น้ำหนักตัวของเราเปลี่ยนแปลงได้

ภาวะเครียด และความกังวัล ไม่เพียงแต่ส่งผลต่อความรู้สึก และกระทบถึงการใช้ชีวิตเท่านั้น แต่ความเครียดนั้น สามาถรส่งผลต่อการเพิ่มขึ้น และลดลง ของน้ำหนักตัวของเราได้ แม้จะไม่ใช่ทางตรงก็ตาม

เมื่อเรา เกิดภาวะเครียด ความกังวล ระบบประสาทของร่างกายจะถูกกระตุ้น เกิดการหลั่งสารอะดรีนาลีนออกมา ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงมากมายทางร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็ว เลือดสูบฉีดเร็ว อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น หายใจเร็วขึ้น คนที่เครียดแบบเฉียบพลัน มีเรื่องกระทบกระเทือนจิตใจ หรือความเครียดที่เกิดจากการทำกิจกรรมหนักๆ หักโหมเกินไป จึงมักจะไม่อยากอาหาร กินอะไรไม่ลง เมื่อกินอาหารไม่ได้ ได้รับพลังงานไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ร่างกายก็จะค่อยๆ เผาผลาญไขมันออกมาเป็นพลังงาน ในขณะที่ปริมาณกล้ามเนื้อลดลงไปพร้อมกัน จึงทำให้น้ำหนักตัวลดลง

ในทางกลับกัน ความเครียดเรื้อรัง ความเครียดต่อเนื่อง จากการทำงาน สภาพสังคม ความเครียดที่สะสมแบบนี้ จะกระตุ้นประสาทให้หลังฮอร์โมนความเครียด (คอร์ติซอล) และฮอร์โมนหิว (เกรลิน) ออกมา ทำให้อยาก และมีความต้องการอาหารมากขึ้น โดยเฉพาะอาหารที่มีแป้ง และน้ำตาลสูง เพราะน้ำตาลในขนมหวานๆ เป็นน้ำตาลที่ร่างกายย่อยได้ง่าย และดูดซึมได้เร็ว ในขณะที่ร่างกายการดูดซึมน้ำตาล สมองจะหลั่งฮอร์โมนความสุขออกมา จึงทำให้รู้สึกว่า เวลาเครียด การได้กินอะไรหวานๆ ทำให้รู้ดีขึ้น แต่อาหารที่มีแป้ง และน้ำตาลสูง เป็นอาหารที่ให้พลังงานมาก กินเยอะ ทำให้ได้รับพลังงานมากเกินกว่าความต้องการของร่างกาย เมื่อใช้พลังงานไม่หมด ก็เหลือเก็บ กลายเป็นไขมันสะสม เป็นสาเหตุของน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง

นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า ความเครียดยังส่งผลต่อการกระจายตัวของไขมัน ทำให้เกิดการสะสมไขมันในช่องท้องมากขึ้น(Visceral Fat) คนที่มีความเครียดเรื้อรังจึงมีความเสี่ยงที่จะอ้วนลงพุง และเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน และโรคเลือดหัวใจอีกด้วย

Latest