Go to content

ขมิ้นชันอาหารเพื่อสุขภาพและการประยุกต์ใช้ให้เข้ากับนาฬิกาชีวิต

ขมิ้นชัน เป็นสมุนไพรไทยอีกชนิด ที่ได้รับการยกย่อง ทั้งในไทย และต่างประเทศ ให้เป็นอาหารที่มีประโยชน์แบบรอบด้าน ยิ่งนำขมิ้นชันมาประยุกต์ใช้ตามทฤษฎีนาฬิกาชีวิตยิ่งได้ประโยชน์ตรงจุด

จากบทความเกี่ยวกับกระแสอาหารเพื่อสุขภาพตลอดปี 2015 – 2016 ( Food Trends 2016 ) ที่เผยแพร่ใน Think with google หนึ่งสมุนไพรที่อยู่ในกลุ่มอาหารเพื่อสุขภาพ (Food with a Function) ที่มีการค้นหาความรู้ในด้านต่าง ๆ ทั้งในอเมริกา และประเทศอื่น ๆ มากที่สุดชนิดหนึ่งคือ ขมิ้นชัน 

ขมิ้นชัน หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า Turmeric ได้รับการยกย่องว่าเป็นสมุนไพรในกลุ่มเครื่องเทศ ที่มีประโยชน์นานับประการต่อสุขภาพ ขมิ้นชัน เป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย และมีถิ่นกำเนิดในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นพืชเหง้าที่มีหัวใต้ดิน กลุ่มเดียว กับ ขิง ข่า และกระชาย มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ ให้สีเหลืองเข้มจนถึงสีแสด

ประโยชน์ดี ๆ ของขมิ้นชัน

ในขมิ้นชันนั้น อุดมไปด้วยวิตามิน เอ และ ซี มีคูเคอร์มิน (Curcumin) สารอาหารเหล่านี้จะช่วยลดการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน (oxidation)ในร่างกาย ช่วยลดการสะสมไขมันที่ตับ และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ช่วยลดอาการอักเสบ ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย จึงช่วยในการสมานแผล สามารถช่วยบรรเทาอาการแผลเรื้อรัง และเป็นหนองได้ (กรณีใช้ทาภายนอก)

นอกจากนี้ ขมิ้นชัน ยังมีประโยชน์ที่โดดเด่นในเรื่องของการรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้ และระบบย่อยอาหารโดยรวม ช่วยบรรเทาอาการที่เกิดจากโรคกระเพาะอาหาร และกรดไหลย้อนได้ เช่น อาการปวด จุก เสียด แน่นท้อง และช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และอาการท้องเสียได้

ทฤษฎีนาฬิกาชีวิต วิถีแห่งธรรมชาติ 

ทฤษฎีนาฬิกาชีวิต เป็นอีกทฤษฎีที่มีการพูดถึงอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เป็นทฤษฎีที่มาจากตำราแพทย์แผนจีน ที่พูดถึงความสัมพันธ์ของร่างกายมนุษย์ กับช่วงเวลา (กลางวัน และ กลางคืน ) ซึ่งตามทฤษฎีนี้เชื่อว่า ตลอดช่วงเวลา 24 ชม.นั้น ภายในร่างกายมนุษย์จะมีการไหลเวียนพลังของชีวิต (ลมปราน) ผันไปตามอวัยวะต่าง ๆ (จั้ง-ฝู่) ทั้งอวัยวะตัน ได้แก่ หัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด ม้าม ตับ ไต และ อวัยวะกลวง ได้แก่ กระเพาะอาหาร ถุงน้ำดี ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ และ ซานเจียว (ไฟธาตุทั้งสาม)

โดยการไหลเวียนของพลังชีวิต (ลมปราณ) ที่ว่านี้ จะสลับตำแหน่งไปตามอวัยวะต่าง ๆ ทุก ๆ 2 ชั่วโมง ทั้งหมด 12 ชิ้นอวัยวะ รวมเป็น 24 ชั่วโมง หรือ 1 วันพอดิบพอดี โดยสามารถแบ่งได้ดังนี้ 

  • 01.00 – 03.00 น. เป็นช่วงเวลาที่ลมปราณโคจรไปที่ตับ
  • 03.00 – 05.00 น. เป็นช่วงเวลาที่ลมปราณโคจรไปที่ปอด
  • 05.00 – 07.00 น. เป็นช่วงเวลาที่ลมปราณโคจรไปที่ลำไส้ใหญ่
  • 07.00 – 09.00 น. เป็นช่วงเวลาที่ลมปราณโคจรไปที่กระเพาะอาหาร
  • 09.00 – 11.00 น. เป็นช่วงเวลาที่ลมปราณโคจรไปที่ม้าม
  • 11.00 – 13.00 น. เป็นช่วงเวลาที่ลมปราณโคจรไปที่หัวใจ
  • 13.00 – 15.00 น. เป็นช่วงเวลาที่ลมปราณโคจรไปที่ลำไส้เล็ก
  • 15.00 – 17.00 น. เป็นช่วงเวลาที่ลมปราณโคจรไปที่กระเพาะปัสสาวะ
  • 17.00 – 19.00 น. เป็นช่วงเวลาที่ลมปราณโคจรไปที่ไต
  • 19.00 – 21.00 น. เป็นช่วงเวลาที่ลมปราณโคจรไปที่เยื้อหุ้มหัวใจ
  • 21.00 – 23.00 น. เป็นช่วงเวลาที่ลมปราณโคจรไปที่ซานเจียว (ไฟธาตุทั้งสาม)
  • 23.00 – 01.00 น. เป็นช่วงเวลาที่ลมปราณโคจรไปที่ถุงน้ำดี 

การเปลี่ยนแปลงและการโคจรของพลังชีวิต หยินและหยาง มีความเกี่ยวข้องกับช่วงเวลา (นาฬิกาชีวิต) ร่างกายจะมีการปรับตัว สร้างสารคัดหลั่ง ฮอร์โมน เพิ่มและลดระดับการทำงานของระบบต่าง ๆ ไปตามช่วงเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป การปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตประจำวันให้สอดคล้องกัน จึงเป็นหลักพื้นฐานของการมีสุขภาพที่ดี ไม่เจ็บป่วยและอายุยืนยาวได้ 

ทานขมิ้นชันให้เข้ากับทฤษฎีนาฬิกาชีวิต

จากหลักการของทฤษฎีนาฬิกาชีวิต ถ้านำมาประยุกต์ให้เข้ากับการรับประทานสมุนไพรที่มีประโยชน์อย่างขมิ้นชัน ก็สามารถช่วยบำรุง รักษา รวมทั้งแก้ไข ฟื้นฟูระบบต่าง ๆ ในร่างกายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ โดยทานตามช่วงเวลาลมปราณดังนี้

  • รับประทานเวลา 03.00 – 05.00 น. เป็นช่วงที่ลมปราณโคจรไปที่ปอด การรับประทานขมิ้นชันในช่วงนี้ จะช่วยบำรุงปอด แก้โรคภูมิแพ้ และช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
  • รับประทานเวลา 05.00 – 07.00 น. เป็นช่วงเวลาที่ลมปราณโคจรไปที่ลำไส้ใหญ่ จะช่วยฟื้นฟูปลายประสาทของลำไส้ใหญ่ ให้บีบรัดตัว ทำให้การขับถ่ายได้ดีขึ้น
  • รับประทานเวลา 07.00 – 09.00 น. เป็นช่วงเวลาที่ลมปราณโคจรไปที่กระเพาะอาหาร จะช่วยลดอาการท้องอืด จุก เสียด แน่นท้อง และช่วยบรรเทาอาการจากโรคกระเพาะอาหารได้
  • รับประทานเวลา 09.00 – 11.00 น. เป็นช่วงเวลาที่ลมปราณโคจรไปที่ม้าม ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน แก้อาการน้ำเหลืองเสีย บำรุงม้ามให้แข็งแรง
  • รับประทานเวลา 11.00 – 13.00 น. เป็นช่วงเวลาที่ลมปราณโคจรไปที่หัวใจ จะช่วยบำรุงหัวใจให้แข็งแรง รวมถึงอวัยวะใกล้เคียงอย่างตับ และปอดด้วย 
  • รับประทานเวลา 13.00 – 15.00 น. เป็นช่วงเวลาที่ลมปราณโคจรไปที่ลำไส้เล็ก ช่วยลดการเกิดแก๊ส อาการท้องอืด ท้องเฟ้อได้
  • รับประทานเวลา 15.00 – 17.00 น. เป็นช่วงเวลาที่ลมปราณโคจรไปที่กระเพาะปัสสาวะ การทานขมิ้นชันในช่วงเวลานี้ จะช่วยบำรุงกระเพาะปัสสาวะ และหูรูดให้แข็งแรง และช่วยลดอาการตกขาวในผู้หญิงได้ 

ปรับใช้ตามสไตล์ของตัวเอง

จากทฤษฎีนาฬิกาชีวิต หลักการดังกล่าวถือว่ามีประโยชน์ไม่น้อย เพียงแต่เราต้องหาสมดุล ปรับให้เข้ากับ lifestyle ทั้งเงื่อนไขของเวลา สภาพแวดล้อม ให้ดำเนินไปตามวิถีของธรรมชาติที่เหมาะสม ไม่มากและไม่น้อย ไม่ตึงและไม่หย่อนจนเกินไป เมื่อเกิดสมดุลในร่างกาย การจะมีสุขภาพที่ดีและอายุที่ยืนยาวก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป สำหรับขมิ้นชันสามารถหามารับประทานได้หลากหลายรูปแบบ จะทานแบบสดปรุงพร้อมอาหารจานโปรด จะทานแบบแห้ง หรือ แบบผงบรรจุในแคปซูลที่ไม่มีสารกันเสีย ก็ได้ 

ขมิ้นชันชนิดแคปซูลไร้สารกันเสียจาก จาก บริษัท อ้วยอัน โอสถ เป็นอีกทางเลือกนึงที่สะดวกรวดเร็ว แถมปลอดภัยได้มาตรฐานการผลิต GMP และที่สำคัญทุกๆ แคปซูลของอ้วยอันโอสถจะวัดด้วยเครื่อง HPLC เพื่อให้ทุกๆแคมซูลมีปริมาณสาร Total Curcuminoids ไม่ต่ำกว่า 7% ซึ่งเป็นการการันตีได้ว่าขมิ้นชันแคปซูลของอ้วยอันโอสถมีคุณภาพและผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์อย่างครบถ้วนด้วยความใสใจทุกรายละเอียด   จากประสบการณ์ในการประกอบธุรกิจทางด้านยาจากสมุนไพรมามากกว่า 65 ปี  

ในแคปซูลขมิ้นชันของ อ้วยอัน โอสถ 1 เม็ด จะมีส่วนประกอบของขมิ้นชัน (Curcuma longa) ถึง 500 ม.ก. โดยมีสาร curcuminoids ไม่ต่ำกว่า 7% และ น้ำมันหอมระเหยไม่ต่ำกว่า 6%  สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยา ร้านสะดวกซื้อ และ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ชั้นนำทั่วไป หรือสามารถสั่งสินค้าออนไลน์ได้ที่ https://ouayun.bentoweb.com/th สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.ouayun.com Call Center โทร 02-455-9554-6

 

เรียบเรียง: lovefitt.com
credit: https://www.doctor.or.th/article/detail/2749, https://www.thinkwithgoogle.com/articles/2016-food-trends-google.html, https://think.storage.googleapis.com/docs/FoodTrends-2016.pdf, https://th.wikipedia.org/wiki/ขมิ้น, http://www.ouayun.com, http://www.goodhealthy24hr.com/ขมิ้นชัน-กินตามนาฬิกาชี

Latest