Go to content

ลิ้นจี่กับสรรพคุณเพื่อสุขภาพ

ลิ้นจี่ผลไม้ที่มีรสหวานและมีกลิ่นหอม ให้ความสดชื่น แก้กระหายน้ำได้ และยังมีสรรพคุณในการบำรุงร่างกายมากมาย และให้พลังงานไม่สูงมากนักหากทานในปริมาณที่พอเหมาะ

ลิ้นจี่ ผลไม้ประจำฤดูกาลนี้อีกชนิดนึงที่เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย ด้วยรสชาติที่หวานหอม อร่อย ชื่นใจ เหมาะกับอากาศร้อนๆในช่วงนี้เป็นยิ่งนัก

ลิ้นจี่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Litchi Chinensis Sonn. วงศ์ Sapindaceae ต้นกำเนิดของลิ้นจี่ คือ ประเทศจีน มีประมาณ 30-40 พันธุ์ กวีเอกสมัยราชวงศ์ถังชื่อ ป๋ายจีอี้ เคยเขียนไว้ว่า “ถ้าลิ้นจี่ถูกเด็ดจากต้น 1 วัน เปลือกจะเปลี่ยนสี 2 วัน กลิ่นหอมก็จะเปลี่ยน 3 วัน รสชาติก็เปลี่ยนไป และหลังจาก 4-5 วัน ทั้งสี กลิ่น และรสก็จะเปลี่ยนไปหมดสิ้น” นอกจากนี้ ลิ้นจี่ยังถูกกล่าวถึงในประวัติศาสตร์จีนในสมัยราชวงศ์ถัง โดยเป็นผลไม้โปรดของหยางกุ้ยเฟย พระสนมของจักรพรรดิถังเสวียนจงอีกด้วย

ในลิ้นจี่นั้นอุดมไปด้วยสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุมากมาย เช่น วิตามิน บี 1 ในลิ้นจี่ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา วิตามินบี 2 ช่วยให้ ร่างกายเจริญเติบโตป้องกันไขมันอุดตันในหลอดเลือด แคลเซียมเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง อีกทั้งยังมีไนอะซีน ช่วยเปลี่ยนน้ำตาลและไขมันให้เป็นพลังงานช่วยระบบย่อยอาหารได้อีกด้วย

คุณค่าทางอาหารของลิ้นจี่

ลิ้นจี่เป็นผลไม้ที่มีรสหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอมหวานชวนกิน คนไทยกินผลสด และนิยมนำลิ้นจี่มาทำเป็นน้ำผลไม้ดื่มแก้กระหายน้ำ

คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน 276 kJ (66 kcal)
คาร์โบไฮเดรต 16.5 g
ใยอาหาร 1.3 g
ไขมัน 0.4 g
โปรตีน 0.8 g
วิตามินซี (87%) 72 mg

สรรพคุณทั่วไปของลิ้นจี่

เชื่อหรือไม่เห็นว่ารสชาติหวานๆแบบนี้ลิ้นจี่ถือเป็นผลไม้ที่เหมาะสมกับการรักษารูปร่าง ถ้าหากทานอย่างพอดี ลิ้นจี่ 1 ถ้วย (6 ผล ไม่แกะเมล็ดออก) ให้พลังงาน 125 แคลอรี มีไขมันน้อยกว่า 1 กรัม ลิ้นจี่มีวิตามินบี 2 โพแทสเซียม และมีวิตามินซีสูงมาก กินลิ้นจี่เพียงวันละ 3 ผลก็ได้วิตามินซีครบถ้วนตามความต้องการใน 1 วัน เนื่องจากวิตามินซีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ ช่วยบำรุงหลอดเลือด กระดูกและฟัน ในฤดูกาลที่มีขายให้ทานกันอย่างมากมาย สามารถใช้ลิ้นจี่แทนการทานวิตมินซีสังเคราะห์ได้

สรรพคุณทางยาของส่วนต่างๆ

  • เนื้อในผล กินเป็นยาบำรุง แก้อาการไอเรื้อรัง แก้กระหายน้ำ แก้อาการคัดจมูก รักษาอาการท้องเดิน ลดกรดในกระ-เพาะอาหาร และบรรเทาอาการไม่ปกติของระบบทางเดินอาหาร
  • นอกจากนี้ประเทศจีนใช้ชาเปลือกลิ้นจี่บรรเทาอาการหวัด แก้การติดเชื้อในลำคอ อาการท้องเสียอย่างอ่อน และโรคจากการติดเชื้อไวรัส แก้บิด แก้ผดผื่น
  • เมล็ดมีฤทธิ์แก้ปวดบวม โดยใช้บดเป็นผงชงน้ำดื่ม หรือใช้พอกบริเวณมีอาการ
  • รากลิ้นจี่หรือเปลือกต้นใช้แก้อาการติดเชื้อไวรัส อีสุกอีใส และเพิ่มความสามารถระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ลิ้นจี่มีปริมาณเส้นใยอาหารสูง มีปริมาณพลังงาน ต่ำ และเชื่อกันว่ามีคุณสมบัติช่วยเผาผลาญสารอาหารในร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ

สรรพคุณกับการต้านโรคมะเร็ง

มีงานวิจัยในประเทศจีนพูดถึงการสกัดสารฟลาโวนอยด์ที่มีมากมายในเปลือกและเนื้อลิ้นจี่ ว่าสามารถช่วยยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งเต้านม และช่วยยับยั้งผลต่อเนื่องในการแทรกตัว การยึดเกาะพื้นผิวของเซลล์มะเร็งได้ ซึ่งปัจจุบันนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาผลิตเป็นอาหารเสริมให้กับผู้ป่วยมะเร็ง

ข้อควรระวัง

สำหรับผู้ที่ยีนบกพร่อง คือ มีอาการ เวียนหัว ตาลาย มีเสียงในหู ปวดเมื่อยเอว ร้อนอุ้งเท้า ปากคอแห้ง ลิ้นแดง มีฝ้าน้อย ไม่ควรควรหลีกเลี่ยงการทานลิ้นจี่ ถ้าหากทานลิ้นจี่มากจะทำให้เกิด “โรคลิ้นจี่” ซึ่งมีอาการหัวใจเต้นเร็ว แขนขาไม่มีแรง มึนหัว หน้ามืดตาลาย เป็นต้น ถ้ามีอาการดังกล่าว ให้เอาเปลือกลิ้นจี่ ต้มกิน อาการก็จะหายไป


เรียบเรียงโดย lovefitt.com

credit:หมอชาวบ้าน, wikipedia, pharmacy.cmu.ac.th

Latest