Go to content

เลือกกินตามสัญญาณไฟจราจร

หลักการโภชนาการอย่างง่าย สำหรับผู้เริ่มการดูแลสุขภาพและควบคุมน้ำหนัก เปรียบเทียบได้ง่ายๆด้วยสัญาณไฟจราจร ตามสี อันไหนควรทานปริมาณเท่าไหร่ ลองดูกัน

อย่างที่ทราบกันว่าสัญญาณไฟจราจร แบ่งออกเป็น 3 สี ได้ แก่ สีแดง สีเหลืองและสีเขียว เมื่อเราเปรียบกับหลักโภชาการโดยแบ่งอาหารเป็น 3 กลุ่ม 3 สีหลักดังนี้

ไฟแดง (กลุ่มอาหารสีแดง)

กลุ่มอาหารที่มีพลังงาน ไขมัน และ น้ำตาลระดับสูง เมื่อเปรียบเทียบกับการทำงานของไฟจราจรก็คือ ต้องหยุด กินไม่บ่อย กินเป็นโอกาสพิเศษบางครั้งคราวเท่านั้น

อาหารที่อยู่ในกลุ่มไฟแดงได้แก่ อาหารที่ทอดด้วยน้ำมัน ปรุงด้วยกระทิเข้มข้น อาหารแปรรูป ไส้กรอก หมูยอ ลูกชิ้น ขนมอบ เค้ก อาหารอุดมแป้ง มัน-เนย เบเกอร์รี่ แฮมเบอร์เกอร์ พิชช่า ข้าวขาหมู ทุเรียน ผัดไทย หอยทอด หมูสามชั้น กุ้ง ไก่ หมู ชุปแป้งทอด แกงกะทิ แกงพะแนง แกงเทโพ น้ำอัดลม น้ำหวาน ชานมไข่มุก

ไฟเหลือง (กลุ่มอาหารสีเหลือง)

กลุ่มอาหารที่มีพลังงาน ไขมัน และ น้ำตาลระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบกับการทำงานของไฟจราจรก็คือ ชะลอ ระมัดระวัง สามารถทานได้ แต่ไม่ทุกวัน (ไม่เกิน 2 ครั้งต่อสัปดาห์)

อาหารที่อยู่ในกลุ่มไฟเหลืองได้แก่ อาหารที่ปรุงด้วยกะทิไม่เข้มข้น อาหารผัดที่ไม่มันจัด ผัดผัก ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า พะโล้ กระเพราหมู มัน-เผือกต้ม ถั่วต้ม ผลไม้ที่มีรสหวาน เงาะ ละมุด องุ่นแดง ลำใย ลิ้นจี่ มะมวงสุก น้อยหน่า กล้วยหอม กล้วยไข่ มะขามหวาน เชอร์รี่

ไฟเขียว (กลุ่มอาหารสีเขียว)

กลุ่มอาหารที่มีพลังงาน ไขมัน และ น้ำตาลระดับต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับการทำงานของไฟจราจรก็คือ ไปได้ ผ่านได้ สามารถทานได้บ่อย ทานได้ทุกวัน

อาหารที่อยู่ในกลุ่มไฟเขียวได้แก่ อาหารประเภท ต้ม นึ่ง ย่าง ผัดน้ำมันน้อย เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เนื้อปลา เนื้อไก่ ไข่ไก่ นม โยเกิร์ต อาหารประเภท ยำ สลัดผักน้ำใส ผักต่างๆ นมถั่วเหลืองหวานน้อย ข้าวแป้งไม่ขัดสี ข้าวซ้อมมือ ธัญพืช ผลไม่ไม่หวานจัด ฝรั่ง แตงโม ส้ม องุ่นเขียว มะละกอดิบ แอ๊ปเปิ้ล

 

Credit: สสส.

Latest