Go to content

โฮมเมดโยเกิร์ต ทำเองได้ไม่มีน้ำตาลให้กวนใจ

โยเกิร์ตมีประโยชน์มากมาย และเป็นเมนูทางเลือกสำหรับคนที่ต้องการจะลดน้ำหนัก โยเกิร์ตยังเป็นอาหารคุณภาพเยี่ยมที่อุดมไปด้วยแคลเซียมและฟอสฟอรัส ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง มีโปรตีน วิตามินบี 2 และบี 12 ที่ช่วยสร้างเม็ดเลือดและบำรุงระบบประสาทแต่โยเกิร์ตตามร้านมักมีปริมาณน้ำตาลเป็นหนามทิ่มแทงใจใครหลายคน วันนี้เรามีทางแก้ค่ะ ลองทำโยเกิร์ตโฮมเมดเองดูสิคะ

โยเกิร์ตมีประโยชน์มากมาย และเป็นเมนูทางเลือกสำหรับคนที่ต้องการจะลดน้ำหนัก โยเกิร์ตยังเป็นอาหารคุณภาพเยี่ยมที่อุดมไปด้วยแคลเซียมและฟอสฟอรัส ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง มีโปรตีน วิตามินบี 2 และบี 12 ที่ช่วยสร้างเม็ดเลือดและบำรุงระบบประสาท

แต่โยเกิร์ตตามร้านมักมีปริมาณน้ำตาลเป็นหนามทิ่มแทงใจใครหลายคน วันนี้เรามีทางแก้ค่ะ ลองทำโยเกิร์ตโฮมเมดเองดูสิคะ เอ้ย!!! ยากไปไหม?? จะบอกเลยค่ะว่าไม่ยากอย่างที่คิดค่ะ อุปกรณ์ก็สามารถซื้อได้ทั่วไปตามซูปเปอร์ชั้นนำและตามร้านขายอุปกรณ์เบเกอร์รี่ค่ะ แถมสามารถเติมความหวานกำลังดีและวัตถุดิบที่ดีมีคุณภาพอีกด้วย หลังจากได้โยเกิร์ตมายังเอามาทำเมนูอื่นๆได้อีก จะเติมผลไม้สด หรือทานคู่กับสลัดก็อร่อยค่ะ

ขอบพระคุณสูตรจากคุณ Int Saw Rmutt และ พี่ดา ค่ะ

วันนี้ไปขอสูตรจากรุ่นพี่ที่ลดน้ำหนักด้วยกัน เห็นว่ามันประหยัดดีค่ะ แถมภูมิใจได้ทำกินเอง แล้วมันก็เก็บเป็นหัวเชื้อในการทำครั้งต่อไปได้ด้วย (ถ้าทำโยเกิร์ตกินเอง จนรสอร่อย เนื้อสวยแล้ว เก่งแล้วน่ะค่ะ อิอิ)

ส่วนผสมสำหรับโยเกิร์ตประมาณ 500 ml.

  • นมสดพาสเจอร์ไรส์ หรือนม UHT เป็นแบบธรรมดา หรือพร่องไขมันก็ได้ 425 g. หรือ 2 ถ้วยตวง
  • นมผงแบบนมผงธรรมดาหรือนมผงขาดมันเนย 75 g. หรือ 5 ช้อนโต๊ะ
  • โยเกิร์ตถ้วยรสธรรมชาติ 75 g. หรือครึ่งถ้วยโยเกิร์ต

วิธีการทำ

  •  ตุ๋นนมในหม้อตุ๋น หรือใช้หม้อสองใบซ้อนกัน ใบนอกใส่น้ำต้มให้น้ำเดือดและใบในใส่นม (เพื่อไม่ให้นมไหม้)
  •  พอนมเริ่มอุ่น ละลายนมผงลงในน้ำนม
  • ให้ความร้อนกับน้ำนมที่อุณหภูมิ 95C เป็นเวลา 5 นาที ถ้าไม่มีที่สัดอุณหภูมิให้ดูลักษณะของน้ำนมที่ร้อนจนคล้ายนมใกล้เดือดแล้วจับเวลา
  • ยกลง ลดความร้อนของน้ำนมลงโดยใช้น้ำเย็นไหลผ่านด้านนอกของภาชนะที่ใช้ต้มนม หรือแช่ในน้ำแข็ง จนอุณหภูมิของนมอยู่ที่ประมาณ 45C หรืออุ่นพอที่จะทนได้เมื่อทดสอบโดยการหยดนมลงบนหลังมือ
  • เติมโยเกิร์ตรสธรรมชาติลงไปในน้ำนม คนเบา ๆ ให้เข้ากัน
  •  ปิดฝา บ่มทิ้งไว้ที่อุณหภูมิ 43C เป็นเวลา 4-6 ชม. ถ้าไม่มีตู้บ่มสามารถใช้กล่องโฟมหรือกล่องที่สามารถเก็บความร้อนได้ใส่น้ำนมนั้นและบ่มเป็นเวลาประมาณ 6-8 ชม. หรือบ่มไว้ที่อุณหภูมิห้องประมาณ 8-10 ชม. จนกว่าจะได้เนื้อโยเกิร์ตที่เปรี้ยมตามที่ต้องการ

เคล็ดลับในการทำโยเกิร์ต

ถ้าทำโยเกิร์ตเอง แล้วเจอเนื้อโยเกิร์ตเหลว ไม่เหมือนที่ซื้อทาน ซึ่งสาเหตุและวิธีการป้องกันเรียงตามขั้นตอนการผลิตมีดังนี้

1. การต้มน้ำนม

1.1 ต้องไม่ต้มให้นมเดือด ใช้อุณหภูมิสูงสุดเพียง 95C ถ้าต้มจนนมเดือด จะมีนมบางส่วนที่ไหม้และทำให้เกิดกลิ่นนมไหม้ทำให้ไม่หอม

1.2 ถ้าให้ความร้อนกับนมไม่เพียงพอและไม่นานพอ (ไม่ถึง 90-95C เป็นเวลา 5 นาที) เนื้อโยเกิร์ตที่ได้จะเหลว มีน้ำใส ๆ แยกออกมา เพราะความร้อนนี้จะช่วยให้ Whey Protein ที่มีอยู่ในน้ำนมถูกทำลาย

** Whey Protein สร้างโครงสร้างที่เป็นเจลหุ้มน้ำ ทำหน้าที่เหมือนเป็นสารให้ความคงตัวตามธรรมชาติ ทำให้โยเกิร์ตเนื้อเนียนไม่มีน้ำแยกออกมา นอกจากนี้การให้ความร้อนยังช่วยไล่อากาศในน้ำนม เกิดสภาวะที่เหมาะสมกับการเจริญของจุลินทรย์โยเกิร์ต และช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรคและจุลินทรีย์ในน้ำนมที่จะมาเจริญแข็งกับจุลินทรีย์โยเกิร์ตด้วย

2. ขั้นตอนการเติมเชื้อโยเกิร์ต

2.1 เลือกใช้โยเกิร์ตรสธรรมชาติ ยี่ห้อที่ใช้แล้วพบว่าได้โยเกิร์ตเนื้อดีกว่าเพื่อนคือ “ยี่ห้อโฟร์โมสต์” (ไม่ได้โฆษณานะคะ) ถ้าต้องการเชื้อโปรไบโอติกด้วยก็เลือกใช้ยี่ห้อที่มีส่วนผสมของเชื้อโปรไบโอติกด้วยก็ได้

2.2 เชื้อจุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิต ดังนั้นถ้าให้เวลาเชื้อปรับตัวจะทำให้ได้โยเกิร์ตไวขึ้น เราทำให้เชื้อปรับตัวได้โดยเอาโยเกิร์ตที่ซื้อมาเป็นหัวเชื้อมาทำโยเกิร์ตก่อน 1 ครั้งแล้วเอาโยเกิร์ตที่เราทำครั้งแรกมาใช้เป็นหัวเชื้อทันทีโดยไม่แช่เย็นเก็บไว้ หรือเอาหัวเชื้อโยเกิร์ตที่เราซื้อมามาวางไว้ที่อุณหภูมิห้องหรือในน้ำอุ่นเป็นเวลา 3-4 ชม.ก่อนนำมาเติมในน้ำนมก็จะช่วยได้เช่นกัน

3. ระหว่างการบ่ม

3.1 อุณหภูมิและเวลา ถ้าเราบ่มที่อุณหภูมิต่ำเช่นอุณหภูมิห้อง ก็ต้องใช้เวลานานกว่าการบ่มที่อุณหภูมิสูง

3.2 ระหว่างการบ่มอย่าไปขยับ เขย่า คน หรือเอียงถ้วยดู เพราะโยเกิร์ตจะได้รับการกระทบกระเทือน ทำให้โครงสร้างเจลในตัวโยเกิร์ตถูกทำลาย และมีน้ำใสแยกออกมา เนื้อก็จะเหลว

(**ถ้าต้องการทดสอบดูว่าโยเกิร์ตแข็งพอแล้วหรือเปรี้ยวพอแล้วหรือไม่ ให้ทดสอบช่วงที่ใกล้จะบ่มเสร็จ เช่น ถ้าบ่มที่อุณหภูมิ 43C ก็เช็คดูประมาณชั่วโมงที่ 4 /ถ้าบ่มที่อุณหภูมิห้องก็เช็คดูที่ชั่วโมงที่ 8 ตามสูตรนั่นเอง)

4. สูตรที่ใช่ (จากการทดลองทำ)

4.1 สูตรที่ให้ เป็นสูตรที่ให้เติมนมผงลงไปในน้ำนมอีก เพื่อให้ได้นมที่มีความข้นสูง จะได้โยเกิร์ตที่มีเนื้อแน่นและหนักกว่า แต่นมธรรมดาก็นำมาทำโยเกิร์ตได้โดยไม่ต้องเติมนมผง เช่นกัน

4.2 เน้นที่ความอร่อย แนะนำให้ใช้นมที่มีไขมันธรรมดา หรือถ้าไม่กลัวอ้วนจะเติมครีมลงไปอีกนิดหน่อยก็ได้ ถ้าโยเกิร์ตมีไขมันมากจะมีเนื้อเนียน หอมอร่อย ตามที่เคยทดสอบมาแล้วน่ะค่ะ

 

Credit: คุณ Int Saw Rmutt และ พี่ดา

Latest